วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การศึกษาอบรมโรงเรียนลำปลายมาศ 3 สิงหาคม 2557


ชื่อ Topic: อาหารบ้านเฮา

เป้าหมาย
นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของอาหารพื้นบ้านภาคเหนือเพื่อให้ได้พัฒนา
สืบสานวัฒนธรรมของคนในภาคเหนือ

ภูมิหลัง
                ภาคเหนือเป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งในอดีตเป็นดินแดนแห่ง มีขนบธรรมเนียม ประเพณี
ที่งดงามเหล่านี้ได้สืบทอดกันมานานแสนนาน ภาคเหนือ เป็นพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นคล้ายต่างประเทศชาวเหนือ
ยังปลูกลูกพืช ผัก เมืองหนาวได้แต่อาหารดั้งเดิมของภาคเหนือ ก็ยังใช้ผักตามป่าเขา และผักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ
มาทำเป็นอาหารพื้นบ้าน ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง
ศักยภาพและอัตลักษณ์ทางสังคม ที่แต่ละแห่งก็มีพัฒนาการ
มาอย่างยาวนาน สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม สภาพเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของแต่ละชุมชน เริ่มสูญหายไปจากท้องถิ่น
ซึ่งสัมพันธ์กับการใช้วิถีชีวิตของผู้คนสมัยใหม่ที่มีความรีบเร่ง ซับซ้อน ไม่ค่อยมีเวลาในการประกอบอาหารด้วยตนเอง รวมไปถึงการขยายตัวของวัฒนธรรมอาหารฟาสฟู้ด ที่มาพร้อมกับความสะดวก รวดเร็วทันใจ และแสดงถึงความโอ่อ่าทันสมัย ทำให้อาหารท้องถิ่นบางชนิดกลายเป็นสิ่งที่เริ่มจะไร้คุณค่า เกิดการสูญเสียองค์ความรู้และลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นลงไปอย่างน่าเสียดาย เนื่องจากการขาดความสนใจของผู้คนสมัยใหม่ที่จะช่วยสานต่อความรู้ในด้านอาหารของ
ท้องถิ่น ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนสมัยใหม่  ทั้งๆ ที่ความสำคัญของอาหารนอกจาก
จะเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับระบบชีวิตของชุมชนแล้วยังเป็นเครื่องแสดงถึงภูมิปัญญาและสร้างความภาคภูมิใจให้กับชุมชน  ซึ่งสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดระบบความรู้และสานต่อ เพื่อรักษาคุณค่าทางวัฒนธรรมและเป็นสื่อในการเรียนรู้ของผู้คนในท้องถิ่นและผู้ที่สนใจ ร่วมกันนำไปพัฒนา ปรับปรุง ผสมผสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมด้านอาหาร
การกินให้คงอยู่ต่อไป ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ที่
6 ได้ศึกษาและเข้าใจความสำคัญของอาหารพื้นบ้านของภาคเหนือเพื่อที่จะนำไปอนุรักษ์สืบสานต่อไป


คำถามสำคัญ
1.  นักเรียนคิดว่าอาหารพื้นบ้านของภาคเหนือมีความสำคัญอย่างไร
2.   นักเรียนคิดว่าอาหารพื้นบ้านกับอาหารปัจจุบันมีความแตกต่างกันอย่างไร
3.  นักเรียนคิดว่าทำไมอาหารพื้นบ้านเริ่มสูญหายไปจากวิถีชีวิตของคนในภาคเหนือ


วันที่ 4 สิงหาคม 2557
รายละเอียด
   ภาคเช้า
                  1. เข้าร่วมวิถีและสังเกตกิจกรรมจิตศึกษา
                       ป. 1  ครููต๋อย
                       ป. 4  ครููภร
    ภาคบ่าย
                  1. สังเกตการสร้างแรงบันดาลใจ PBL. ป. 2,4
                  2. สังเกตวิถีก่อนกลับบ้าน
                  3. AAR.สิ่งที่ได้เรียนรู้

 ก. บันทึกรายละเอียดภาคเช้า
                  1. เข้าร่วมวิถีและสังเกตกิจกรรมจิตศึกษา
                      เวลา 08.00 น.  ร่วมวิถีเช้า

ก่อนร่วมวิถีเช้าครูและนักเรียนจะเล่นด้วยกัน

นักเรียนที่มาโรงเรียนสายต้องปฏิบัติกิจกรรมเหมือนนักเรียนที่มาปกติ

                  2. กิจกรรมจิตศึกษา ป. 4  ครููภร
                      กิจกรรมส่งแรงใจด้วยดอกรักและเมล็ดถั่ว      
                           ขั้นตอน
                                 1) เปิดเพลงคลื่นสมองต่ำ
                                 2) กิจกรรมBrain gym
                                 3) ครูส่งดอกรักและเมล็ดถั่ว   ให้นักเรียนนักเรียนรับด้วยความนอบน้อม
                                 4) เมื่อรับอุปกรณ์แล้วให้นักเรียนนำอุปกรณ์ที่ได้รับสร้างภาพเหตุการณ์ที่นักเรียนได้รับหรือประสบการณ์ขณะปิดเทอม
                                 5) นักเรียนเล่าเรื่องจากสิ่งที่นักเรียนสร้างขึ้นที่ละคน จนครบทุกคน
                                 6) ครูสรุปกิจกรรม
                                 7) ครูเตรียมพร้อมนักเรียนเพื่อการเริ่มเรียน
                                 8) เริ่มเรียนวิชาหลัก

กิจกรรมจิตศึกษา ป. 4  ครููภร
ข. สรุปความรู้จากการสังเกตกิจกรรมจิตศึกษา  โดยครูต๋อย  ครูภร


สรุปความรู้จากการสังเกตกิจกรรมจิตศึกษา  โดยครูต๋อย  ครูภร



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น