วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การศึกษาดูงานโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา 6 สิงหาคม 2557

การศึกษาดูงานโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา 6 สิงหาคม 2557

รายละเอียด
     1. ภาคเช้า
        1) เข้าร่วมวิถีและสังเกตจิตศึกษา
           - ป. 3
           - ป. 6
        2) สรุปความรู้จากการสังเกตกิจกรรมจิตศึกษา
     2. ภาคบ่าย
         1) สังเกตการสร้างแรงบันดาลใจ
                   - PBL.ป. 1
                   - PBL ป. 5
    2) สังเกตวิถีก่อนกลับบ้าน
    4) AAR. สิ่งที่ได้เรียนรู้

รายละเอียด
     1. ภาคเช้า
        1) เข้าร่วมวิถีและสังเกตจิตศึกษา
            - ป. 3
            - ป. 6

            เข้าร่วมวิถี




        2) สรุปความรู้จากการสังเกตกิจกรรมจิตศึกษา ป.6 (ครูต๋อย)
            ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
                - เตรียมความพร้อมเด็ก
                ครูต๋อยนั่งในวงกลมเช็คจำนวนเด็กว่ามาครบหรือยังมีใครขาดเรียนบ้าง
                - เริ่มกิจกรรมจิตศึกษา 
                  1) เปิดเพลงคลื่นสมองต่ำ
                  2) เริ่มโดยการทำ Body Scan               
                  3) ครูนำนักเรียนทำกิจกรรมเบรนยิมประกอบเพลงพร้อมนับจำนวน 1-16
                  4) ครูนำทำท่ากายบริหารในท่านั่งโดยใช้ช่วงแขน มือ และเท้า
                  5) ครูให้ดูภาพขาวดำจำนวน 2 ภาพโดยส่งไปทางซ้ายมือและขวามือคุณครูข้างละ 1 ภาพ พร้อมตั้งคำถามว่าเห็นอะไร รู้สึกอย่างไร ซึ่งเป้าหมายของกิจกรรมคือความเห็นอกเห็นใจกัน
                 6) นักเรียนบอกสิ่งที่เห็นจากภาพทั้งสองหรืออย่างใดอย่างหนึ่งและความรู้สึกและอยากตั้งคำถามว่าอย่างไร
                7) ครูให้นักเรียนจับมือกันถ่ายทอดความรักความปรารถนาดีให้แก่กันและกัน
                8) นักเรียนยกมือไหว้ขอบคุณครู เพื่อนๆ









สรุปกิจกรรมภาคเช้า
ป.3
    ผอ.ปกรณ์- ชื่นชอบอยากกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง
    ผอ.ดรุณ  - แปลกกว่าสองวันที่ผ่านมาการใช้เบรนยิมที่น่าสนใจ สื่อที่ครูภรใช้แสดงออกถึงความคิดเปิดโอกาสให้เด็กคิดและขอบคุณสิ่งใด
    ครูอั๋น - ครูภรใช้ร่างกายเป็นอุปกรณ์ ถ้าเด็กเรียบร้อยครูจะขอบคุณ
    ครูใหญ่-ส่วนใหญ่ครูจะจี้ไปที่คนไม่เรียบร้อยเขาจะรู้สึกว่าตัวเองแย่ ลำปลายมาศจะเติมพลังบวกตลอด คนที่รู้ตัวเองก็จะมีสติตลอดเป็นการควบคุมจากภายใน
ป.6
    ครูประเสริฐ-เห็นการเตรียมความพร้อมที่ใช้เพลงประกอบท่าทางเพื่อเตรียมให้เกิดความพร้อม มีการใช้ภาพประกอบการทำจิตศึกษา
    ครูบัวหอม- มีการใช้คำถามกระตุ้นให้เกิดความคิด
    ครูเอ๋- ครูถามให้นักเรียนเกิดการใคร่ครวญในการคิด
    ครูต๋อย-เป้าหมายของจิตศึกษาชั้นป.6 คือ ความเห็นอกเห็นใจ โดยใช้ภาพ 2 ภาพเป็นสื่อและให้เด็กแสดงความคิดเห็นและให้เด็กตั้งคำถาม สุดท้ายให้เด็กที่อยากตอบคำถามของเพื่อนหรือของตนเอง ครูไม่ได้สรุปหรือพูดแสดงความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
การบอดี้สแกนเป็นกึ่งการสะกดจิต การสร้างบรรยากาศก็สามารถช่วยได้เช่น การปรับแสงในห้องเรียน การใช้เสียงเพลงประกอบ การใช้เสียงของเราช่วยเติมสิ่งที่ดีเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจกรรมบอดี้สแกนนั้น เช่นความมีระเบียบวินัย ความรัก ความซื่อสัตย์เป็นต้น
การที่เด็กตื่นมาแล้วงัวเงียเราใช้เบรนยิมเข้าช่วย การบอกปลุกใช้การนับอย่างมีความหมาย เพลงที่ใช้มี 2 แบบคือ เพลงพัฒนาสมอง เพลงกระตุ้นสมอง
เพลงพัฒนาสมองใช้เพลงบรรเลงไม่มีเนื้อร้องมีดนตรีไม่กี่ชิ้น ส่วนเพลงกระตุ้นสมองเหมาะเวลาทำกิจกรรม แสงสีส้มจะช่วยคลื่นสมองผ่อนคลาย แสงสีขาวจะทำให้วุ่นวาย เสียงที่ใช้ฝึกจะเป็นเสียงโทนธรรมชาติโทนต่ำ
ดังนั้น เสียง แสง บรรยากาศมีช่วยพัฒนาคลื่นสมอง การสอนโดยการบอกแค่ 5%  การปฏิบัติ ฝึกและการนำไปใช้คือปฏิเวธ

การplc. ส่วนใหญ่ไม่มีหัวโต๊ะมีแต่มาแชร์สิ่งที่ดีต่อกันที่ประสบความสำเร็จ จะไม่นำปัญหามาเสนอ
โรงเรียนให้เครดิตการเรียนรู้ร่วมกันมาก
PLC. ทำ2เรื่องใหญ่ๆ
สถานที่ บรรยากาศดี มีสัมพันธภาพเชิงบวก สะอาดร่มรื่น วิถี
กิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ BAR, AAR (before action review ,after action review) มีอุดมการณ์
เกิดทักษะ เกิดความเข้าใจ
- ถอดบทเรียนซึ่งกันและกัน -ทำlesson study

ก่อนทำ bar,aar คือระดับการสนทนา
-ถกเถียง ต่ำสุดไม่เกิดปัญญร่วม
- แจ้งให้ทราบ downloading
- สนทนาหรือฝึกการฟัง dialog ไม่คอยตัดสิน
-creative. ให้ความเห็นด้วยความกรุณา







   2. ภาคบ่าย
              1) สังเกตการสร้างแรงบันดาลใจ           
                 - PBL ป. 5
                 กิจกรรม Body Scan
                 -ครูเตรียมความพร้อมเด็ก เปิดเพลงคลื่นสมองต่ำ
                 -เมื่อเด็กมีความพร้อมแล้วจึงเริ่มกิจกรรมโดยให้เด็กนอนแล้วเล่าเรื่องเพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย
                 -เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมให้พี่มอนิเตอร์นำกล่าวสวัสดี ขอบคุณและกล่าวนำพร้อมที่จะเรียน
                กิจกรรมการสร้างแรงบันดาลใจเรื่อง อาเซียน
                 -นักเรียนนำชิ้นงานจากวันก่อนเรื่อง สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนของแต่ละคนมา Think pare Share กัน โดยแบ่งเป็นกลุ่มละ 3 คน เนื่องจากมีนักเรียนมาก โดยทำลงในกระดาษ A 3
                เนื่องจากนักเรียนอยากเรียนเรื่องอาเซียนอยู่แล้วจึงไม่ต้องสร้างแรงบันดาลใจ




    3) สังเกตวิถีก่อนกลับบ้าน
    4) AAR. สิ่งที่ได้เรียนรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น