Main

ภูมิหลัง

                ภาคเหนือเป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งในอดีตเป็นดินแดนแห่ง มีขนบธรรมเนียม ประเพณี
ที่งดงามเหล่านี้ได้สืบทอดกันมานานแสนนาน ภาคเหนือ เป็นพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นคล้ายต่างประเทศชาวเหนือยังปลูกลูกพืช ผัก เมืองหนาวได้แต่อาหารดั้งเดิมของภาคเหนือ ก็ยังใช้ผักตามป่าเขา และผักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ
มาทำเป็นอาหารพื้นบ้าน ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงศักยภาพ และอัตลักษณ์ทางสังคม ที่แต่ละแห่งก็มีพัฒนาการมาอย่างยาวนาน สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม สภาพเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของแต่ละชุมชน เริ่มสูญหายไปจากท้องถิ่นซึ่งสัมพันธ์กับการใช้วิถีชีวิตของผู้คนสมัยใหม่ที่มีความรีบเร่ง ซับซ้อน ไม่ค่อยมีเวลาในการประกอบอาหารด้วยตนเอง รวมไปถึงการขยายตัวของวัฒนธรรมอาหารฟาสฟู้ด ที่มาพร้อมกับความสะดวก รวดเร็วทันใจ และแสดงถึงความโอ่อ่าทันสมัย ทำให้อาหารท้องถิ่นบางชนิดกลายเป็นสิ่งที่เริ่มจะไร้คุณค่า เกิดการสูญเสียองค์ความรู้และลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นลงไปอย่างน่าเสียดาย เนื่องจากการขาดความสนใจของผู้คนสมัยใหม่ที่จะช่วยสานต่อความรู้ในด้านอาหารของท้องถิ่น ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนสมัยใหม่  ทั้งๆ ที่ความสำคัญของอาหารนอกจากจะเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับระบบชีวิตของชุมชนแล้ว ยังเป็นเครื่องแสดงถึงภูมิปัญญาและสร้างความภาคภูมิใจให้กับชุมชน  ซึ่งสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดระบบความรู้และสานต่อ เพื่อรักษาคุณค่าทางวัฒนธรรมและเป็นสื่อในการเรียนรู้ของผู้คนในท้องถิ่นและผู้ที่สนใจ ร่วมกันนำไปพัฒนา ปรับปรุง ผสมผสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมด้านอาหารการกินให้คงอยู่ต่อไป ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ที่ 6 ได้ศึกษาและเข้าใจความสำคัญของอาหารพื้นบ้านของภาคเหนือเพื่อที่จะนำไปอนุรักษ์สืบสานต่อไป

Mind mapping



ปฏิทินการเรียนรู้
สัปดาห์ที่
สาระสำคัญ
(เป้าหมายหลัก)
เนื้อหา/กิจกรรม
ภาระงาน/ชิ้นงาน
สื่อ / แหล่งเรียนรู้
1






-สร้างฉันทะ และแรงบันดาลใจในการเรียนรู้
Key Question
- นักเรียนเห็นอะไรจากการ ชมการ์ตูน
 การสำรวจตลาดสดบ้านนาหนุน
1,2,3
(show and share)
- ชมการ์ตูน”พ่อครัวตัวจิ๊ด หัวใจคับโลก”
-การสำรวจตลาดสดบ้านนาหนุน 1,2,3
-พูดคุยเชื่อมโยงสู่ความสำคัญของอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตบนโลก
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- สรุปสิ่งที่ได้ดูจาก การ์ตูน การสำรวจตลาดสดบ้านนาหนุน 1,2,3
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- การ์ตูน
- บรรยากาศ
ในชั้นเรียน

-ตลาดสด
บ้านนาหนุน
1,2,3
2






สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
 “จากสิ่งที่ได้ดู นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้
ใน
Quarter นี้อย่างไร”
Key Question
- นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรใน Quarter นี้
- ทำไมถึงอยากเรียนเรื่องนี้
- นักเรียนอยากเรียนรู้อะไรบ้างในโครงงาน
ของกิ๋นบ้านเฮา
(show and share)
- การวางแผนการเรียนรู้ตลอด 10 สัปดาห์
Key Question
- นักเรียนๆ จะวางแผนการเรียนรู้และทำปฏิทินการเรียนรู้อย่างไร
(show and share)- นักเรียนจะจัดบรรยากาศห้องเรียนให้น่าสนใจ
และสื่อถึงโครงงาน

ของกิ๋นบ้านเฮา ได้อย่างไร(Brainstorming)
นักเรียนตั้งชื่อหัวข้อโดยใช้เครื่องมือ Think  pair shair /Blackboard shareและออกแบบป้ายชื่อหัวข้อ เขียนสิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากรู้โดยใช้เครื่องมือคิด Blackboard share
- ทำปฏิทินการเรียนรู้ ผ่านเครื่องมือ Card&ChartและBlackboard share
- เขียนสรุป Mind mapping ก่อนเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- หัวข้อที่จะเรียน
- สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
- Mind mapping ก่อนเรียน
- ทำปฏิทินการเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- กระดาษ บรู๊ฟ
- สี/ปากกาเคมี
-บรรยากาศ
ในห้องเรียน
3






-ความสำคัญของอาหาร
-แหล่งที่มาของอาหาร
    1) พืช
    2) สัตว์

-ออกสำรวจผักปลอดสารพิษ
ในบริเวณโรงเรียน ชุมชน
-สัมภาษณ์แม่ครัวถึงที่มาของอาหารและรายจ่ายที่ใช้ในแต่ละวัน
-พูดคุยแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นเชื่อมโยงความสำคัญและแหล่งที่มาของอาหาร
-ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องความสำคัญและแหล่งที่มาของอาหารเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- Mind mapping /ภาพวาด/นิทาน
- ความหมายและความสำคัญและแหล่งที่มาของอาหาร
- สรุปการเรียนรู้
รายสัปดาห์
- ข่าว  
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศ
ในห้องเรียน
-โรงเรียน
-ชุมชน
4
อาหารกับวัฒนธรรม วิถีชีวิต(อาหารไทย)
-อาหารภาคเหนือ
-อาหารภาคกลาง
-การทำอาหาร
-จับฉลากแบ่งนักเรียนออกเป็น
4 กลุ่ม เลือกอาหารแต่ละภาค
-พูดคุยวางแผนเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหาร
ของ ภาคเหนือ
,ภาคกลาง
-เชิญผู้ปกครองมาเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการประกอบอาหารของภาคต่างๆ
-เขียนบทความเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ ขั้นตอนการผลิต คุณค่าทางอาหารที่มีผลต่อร่างกาย
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
-ลงมือประกอบอาหาร
ภาคเหนือ,ภาคกลาง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ผู้ปกครอง
โรงอาหาร
ห้องสมุด
อินเตอร์เน็ต
5
อาหารกับวัฒนธรรม วิถีชีวิต(อาหารไทย)
-อาหารภาคอิสาน
-อาหารภาคใต้
-รสชาติอาหาร
-แบ่งกลุ่มศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารกับวัฒนธรรมการกินของคนไทยในแต่ละภูมิภาค
-สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลที่ศึกษาในรูปแบบ Show and Shar
จับฉลากแบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม เลือกอาหารภาค อิสาน ภาคใต้
-พูดคุยวางแผนเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหาร
-พูดคุยวางแผนเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหาร
-เชิญผู้ปกครองมาเรียนรู้ร่วมกัน
-สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับการประกอบอาหารของแต่ละภูมิภาคในรูปแบบการ์ตูนช่อง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
-ลงมือประกอบอาหาร
อิสาน ภาคใต้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ผู้ปกครอง
โรงอาหาร
ห้องสมุด
อินเตอร์เน็ต
6
อาหารกับวัฒนธรรม/วิถีชีวิต(อาหารสากล)
การทำอาหาร/การถนอมอาหาร(การเชื่อม,การแช่อิ่ม,การตากแห้ง)
-นักเรียนจับฉลากแบ่งเป็น 5 กลุ่ม เลือกอาหารนานาชาติ
-เขียนขั้นตอนการทำอาหารและพูดคุยวางแผนเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหาร
-พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกอบอาหารของกลุ่มตนเอง
(วัสดุอุปกรณ์ ขั้นตอนการผลิต คุณค่าอาหารที่มีผลต่อร่างกาย)
-การถนอมอาหาร(การเชื่อม,การแช่อิ่ม,การตากแห้ง)
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
-ลงมือประกอบอาหาร
-ขั้นตอนการทำอาหาร
- สรุปการเรียนรู้
รายสัปดาห์
โรงอาหาร
ห้องสมุด
อินเตอร์เน็ต
7
ประเภทของอาหาร
  -อาหารหลัก 5 หมู่
  -อาหารเพื่อสุขภาพ
  -อาหารขยะ
- ดูการ์ตูน “เมืองอาหารดี/อาหารหลัก 5 หมู่”
- ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประเภทของอาหารหลัก 5 หมู่/อาหารเพื่อสุขภาพ/อาหารขยะ
-จับฉลากแบ่งกลุ่มถ่ายทอดข้อมูล
ที่ศึกษาผ่านชิ้นงานการแสดงบทบาทสมมุติ วาดภาพ นิทาน
เล่มเล็ก ชาร์ต์ความเข้าใจสารอาหารหลัก
5 หมู่
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
-การแสดงบทบาทสมมุติ
-ภาพวาด

-นิทานเล่มเล็ก
-ชาร์ทความเข้าใจสารอาหารหลัก
5 หมู่
- สรุปการเรียนรู้
รายสัปดาห์
ห้องสมุด
อินเตอร์เน็ต
8
ประโยชน์ของอาหาร
 -ประโยชน์โดยตรง
(สารอาหาร)

 -ประโยชน์ทางอ้อม
-โทษและพิษภัยจากการรับประทานอาหาร
-โทษและพิษภัยโดยตรง
-โทษและพิษภัยทางอ้อม



-ดูคลิป”สิ่งเจือปนในอาหาร/มาตรฐานอาหารปลอดภัย”
-เชิญวิทยากร”แม่ครัวในโรงเรียน”มาพูดคุยเกี่ยวกับความสำคัญของการผลิตอาหารที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
-แบ่งกลุ่มนักเรียนศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของอาหาร
โทษและพิษภัยจากการรับประทานอาหาร

-ถ่ายทอดความเข้าใจผ่านชิ้นงาน นิทานสามมิติ ชาร์ตความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยและพิษภัยจากการรับประทานอาหาร ภาพวาด
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
-นิทานสามมิติ
-ภาพวาด
-ชาร์ตความเข้าใจ
-Flow chart เกี่ยวกับอาหารปลอดภัยและพิษภัยจากการรับประทาน
ห้องสมุด
อินเตอร์เน็ต
คลิปวีดิโอ
ชุมชน
โรงอาหาร
แม่ครัว
9
การกินอยู่อย่างพอเพียง
-การผลิตวัตถุดิบ
ในการประกอบอาหาร
-การลงมือประกอบอาหาร
-การเลือกบริโภค/การเลือกซื้อ
-แบ่งกลุ่มนักเรียน 4 คน/กลุ่ม พูดคุยวางแผนเพื่อเตรียมวัตถุดิบมาประกอบอาหาร
-ออกสำรวจวัตถุดิบที่ใช้ประกอบในชุมชน(ผักชนิดต่างๆ)
-ลงมือประกอบอาหารจากวัตถุดิบที่ใช้ประกอบในชุมชน
-สรุปความเข้าใจ
Mind mapping นิทานช่อง
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
-การประกอบอาหาร
- ภาพวาด
Mind mapping
นิทานช่อง
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ห้องสมุด
อินเตอร์เน็ต
คลิปวีดิโอ
ชุมชน
โรงอาหาร
10
อาหารในอนาคต
-วัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหาร
-คุณค่าทางอาหาร
พฤติกรรมการกิน/วิถีชีวิต
-ความต้องการอาหารของมนุษย์ในอนาคต
-แนวโน้มการขาดแคลนอาหาร
-ดูคลิป”วิกฤติอาหารโลกแพง/วิกฤตอาหารโลกขาดแคลน/วิกฤตอาหาร”
-ดูคลิปสารคดี”วงจรอาหาร 6 พันล้านคน”
-พูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำรงชีวิตและการผลิตวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นเพื่อใช้ประกอบอาหาร
-สะท้อนความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสถานการณ์อาหารในอนาคตในรูปแบบภาพวาดและการแสดงบทบาทสมมุติ
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
-ภาพวาด/การแสดงบทบาทสมมุติสะท้อนความเข้าใจเกี่ยวกับ
เรื่องสถานการณ์อาหารในอนาคต
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ห้องสมุด
อินเตอร์เน็ต
คลิปวีดิโอ
11
สรุปโครงงาน
- การตกผลึกสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้มาทั้งหมด
- การตรวจสอบ การประเมินตนเองและผู้อื่น
Key Question
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนโครงงานของกิ๋นบ้านเฮาและจะนำเสนอผลงานให้ผู้อื่นรู้และเข้าใจได้อย่างไรบ้าง
- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมที่เรียนผ่านมาทั้งหมดในโครงงาน
ของกิ๋นบ้านเฮา
-  นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้เป็น  Mind Mapping หลังเรียน/ นำเสนอ
- นักเรียนและครูร่วมกันประเมินเพื่อสะท้อนผลงาน
-  นักเรียนระดมความคิดเขียน
 สิ่งที่ทำได้ดี และ สิ่งที่ควรปรับปรุง เกี่ยวกับการเรียนโครงงานเรื่องของกิ๋นบ้านเฮา
- นักเรียนแบ่งกลุ่มระดมความคิดเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะทำในวันสรุปงานสิ้น Quarter 2  
สรุปโครงงาน
- การตกผลึกสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้มาทั้งหมด
- การตรวจสอบ การประเมินตนเองและผู้อื่น
Key Question
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนโครงงานของกิ๋นบ้านเฮาและจะนำเสนอผลงานให้ผู้อื่นรู้และเข้าใจได้อย่างไรบ้าง
- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมที่เรียนผ่านมาทั้งหมดในโครงงาน
ของกิ๋นบ้านเฮา
-  นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้เป็น  Mind Mapping หลังเรียน/ นำเสนอ
- นักเรียนและครูร่วมกันประเมิน
เพื่อสะท้อนผลงาน
-  นักเรียนระดมความคิดเขียน สิ่งที่ทำได้ดีและสิ่งที่ควรปรับปรุง เกี่ยวกับการเรียนโครงงานเรื่องของกิ๋นบ้านเฮา
- นักเรียนแบ่งกลุ่มระดมความคิดเกี่ยวกับกิจกรรม
ที่จะทำในวันสรุปงานสิ้น
Quarter 2  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น